Home |
Last modified ตุลาคม 27th, 2021 at 12:00 pm
ดูหนังออนไลน์ Manta Ray หรือ กระเบนราหู ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่สามารถสร้างชื่อเสียงในระดับโลก ด้วยการไปคว้ารางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ในสายประกวดรอง Orizzonti จากเทศกาลภาพยนตร์เวนิสครั้งที่ 75 ผลงานการกำกับของ พุทธิพงษ์ อรุณเพ็ง
ดูหนังออนไลน์ กระเบนราหู เปิดเรื่องมาด้วยความพิศวงเล็กๆในงานด้านภาพเมื่อหนังเผยภาพของชายถือปืนกลขนาดเบา และพันตัวด้วยไฟประดับต้นคริสมาสต์ ออกเดินท่ามกลางป่าโกงกางในยามค่ำคืนด้วยจุดประสงค์อะไรบางอย่าง กินเวลาสักระยะหนึ่ง จนชี้ชวนให้คนดูคิดต่อเอาเองว่าฉากเหล่านี้ต้องการจะสื่อสารอะไรกับคนดู
เรื่องราวของชาวประมงท้องถิ่นที่บังเอิญพบชายบาดเจ็บนอนหมดสติในป่า เขาตัดสินใจช่วยเหลือชายแปลกหน้าคนนั้น ที่ทำไม่ได้แม้กระทั่งพูดจาสื่อสาร ทั้งคู่ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันและค่อยๆ สานสัมพันธ์ โดยไม่ทันได้คาดคิดว่ามันเป็นจุดเริ่มต้นที่แสดงให้เห็นภาวะเปราะบางและไม่สมบูรณ์ของมนุษย์ จนนำไปสู่โศกนาฏกรรมในที่สุด
ดูหนังออนไลน์ กระเบนราหู ของผู้กำกับ พุทธิพงษ์ อรุณเพ็ง เป็นผลงานหนังไทยดาวรุ่งในสายรางวัลเรื่องล่าสุด ก่อนที่หนังจะเข้าฉายในไทยก็สามารถคว้ารางวัลในเวทีนานาชาติมาหลายรางวัล รวมถึงรางวัลใหญ่ ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ของเทศกาลหนังนานาชาติเวนิสในสาย ออริซอนติ หรือสายการประกวดที่สองด้วย แต่ในวันนี้เราอยากจะรีวิวหนังเรื่องนี้ในแบบที่ว่าถ้าคุณไม่ใช่นักวิจารณ์สายรางวัล สายคานส์ ไม่ใช่นักเรียนหนัง ไม่ใช่กูรูหนัง ถ้าคุณเป็นแค่คนชอบดูหนังทั่วไปล่ะ จะดูหนังเรื่องนี้ได้หรือไม่ เพราะคำโฆษณาหนึ่งของหนังคือ “หนังรางวัลอาจจะไม่ได้เป็นหนังที่ดูยากเสมอไป”
ก่อนอื่นเราต้องทราบก่อนว่าหนังเรื่องนี้ตั้งสาระสำคัญแบบไม่ปกปิดว่าหนังจะเล่าด้วยเรื่อง แรงงานข้ามถิ่น หรือคนต่างด้าว โดยการเล่นคำว่า ดูหนังออนไลน์ Alien นี้ยังถูกนำไปเล่นกับลีลาการเปรียบเปรยด้วยวิช่วลเหนือธรรมชาติที่ชวนให้นึกถึงยูเอฟโอ และมนุษย์ต่างดาวอยู่ในที (ซึ่งจะมองเป็นอย่างอื่นก็ไม่ผิด แต่ที่แน่ ๆ คือไม่ใช่สิ่งจริงบนโลกแน่) เส้นเรื่องของหนังจริง ๆ นั้นถือว่าเรียบง่ายไม่ซับซ้อน เป็นดราม่าแบบรักสามเส้าที่เอาจริงแทบไม่ได้หลุดจากเมโลดราม่าน้ำเน่าทั้งหลายในโลกหล้าเลยด้วยซ้ำ แต่ความพิเศษคือมันวางอยู่บนฉากหลังของเรื่องที่ว่าด้วยคนต่างด้าว คนพม่า คนกัมพูชา หรือแม้แต่ชาวโรฮิงญานั่นล่ะ มันคือประสบการณ์ร่วมบางอย่างของชนชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่คนข้ามเส้นแบ่งแดนเพื่อค้าขายแรงกายเอาชีวิตรอด โดยเฉพาะชาวไทยเองก็ผ่านประสบการณ์ลักษณะนี้ทั้งเป็นผู้ถูกบุกรุก และผู้บุกรุกชาวบ้าน เช่นกรณี ผีน้อย อันโด่งดังพร้อมกัน หนังเรื่องนี้เชื้อเชิญให้เราเอาประสบการณ์ส่วนตัวผ่านชีวิตจริงหรือผ่านเนื้อข่าวต่าง ๆ มาตีความเนื้อหารัก 1 หญิง 2 ชาย ที่โคตรน้ำเน่า ให้กลายเป็นภาพสะท้อนสังคมปัจจุบันได้น่าตรึกตรองมากขึ้น
ซึ่งถ้าคุณเป็นคนดูหนังทั่วไปไม่ได้แสวงหาศิลปะเชิงปรัชญา อยากให้พยายามจับในส่วนแรกนี้พอ และดูมันเป็นหนังบันเทิงที่ใช้สังคมจริงมาสร้างเรื่องราว มีการแสดงที่น่าชื่นชมมาก ๆ ทั้งคู่นำชายอย่าง วัลลภ รุ่งกำจัด ในบทชาวประมง และ อภิสิทธิ์ หะมะ ในบทชายปริศนาที่ถูกเรียกว่าธงชัย แม้จะถูกประดิษฐ์ให้ใช้คำพูดน้อยมาก (ตัวละครธงชัยไม่พูดเลยสักคำ) และตัวชาวประมงจะพูดแต่ละครั้งก็มาอย่างยืดยาดไร้ชีวิตชีวา ทว่าการแสดงด้วยท่าท่างและที่สำคัญด้วยสายตานั้น มันทรงพลังพอให้เราติดใจตัวละครเหล่านี้ไปได้จนจบจริง ๆ อีกสิ่งที่ต้องพูดคือการถ่ายภาพและสิ่งที่เราได้เห็นบนจอ สวยมากกกก ฉากชีวิตธรรมดาถูกออกแบบจนแบบคุณไม่ต้องดูศิลปะอะไรเป็นมากมายก็ยังรู้สึกได้ว่ามันพิเศษ และแสดงพลังแสดงอารมณ์ออกมาตลอดเรื่อง
ปัญหาของการดูหนังเรื่องนี้ด้วยสายตาทั่วไป ก็มีแน่นอน แต่แนะนำให้มองข้ามและไม่ต้องไปสนใจตีความหรือคิดตามให้เสียเวลา เพราะเอาจริงโครงเรื่องหลักมันก็เพียงพอแล้ว ในส่วนของฉากอัศจรรย์ก็ว่าด้วยเรื่องราวของหินเรืองแสงกลางป่าผี กระเบนราหูที่ชอบเล่นหินสีแดง มนุษย์แสง (ชื่อในเครดิต) ที่ดั่งทหารพรานถือปืนย่องกลางป่า หรือตัวตนที่แท้จริงของธงชัย อะไรพวกนี้คือถ้าฝึกสมองแล้วคิดออกได้ก็เป็นเรื่องดี แต่ถ้าคิดไม่ออกก็ไม่ได้ผิดอะไร ปล่อยไปเลยครับ ดื่มด่ำกับสุนทรีย์ด้านบันเทิง ด้านภาพ ด้านเสียง ด้านการแสดง แค่นี้ก็คุ้มค่าตั๋วแล้ว เป็นอีกหนึ่งหนังไทยที่คุณภาพดีและเสพได้ไม่ยากเกินไป น่าลอง
อีกหนึ่งสิ่งที่ทำให้คนดูคนไทยอย่างเราๆ มองและตั้งคำถามถึง “วิถีความเป็นอยู่” ของชนชั้นแรงงานชาวไทยผ่านตัวละครชาวประมง ที่ดูเหมือนว่าวิถีชีวิตของพวกเขาก็ดู “ติดลบ” ทำงานหาเงินไปวันๆ ภรรยาอย่างสายใจ (รัสมี เวระนะ) ที่หนีตามไปอยู่กับทหารเรือ ก็เพียงเพราะอยากจะไปอยู่ในวิถีชีวิตที่ดีขึ้น สะท้อนว่ามนุษย์ทุกคนล้วนกระเสือกกระสนที่จะพาตัวเองไปอยู่ในชีวิตที่ดีกว่า ประเด็นในหนังเรื่องนี้จึงมีความ “เป็นสากล” และสะท้อนถึงความเป็นอยู่ของมนุษย์ในหลากแง่มุม ซึ่งเป็น “หนังไทย” ที่เรียกได้ว่ามีการคิดและนำเสนอประเด็นที่น่าสนใจ ผ่านเทคนิคการสร้างภาพยนตร์ที่ไม่ได้ดูยากจนต้องรู้สึกว่าต้องปีนบันไดดู